ร่างกายของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตนั้นประกอบด้วย ปถวีธาตุ(ธาตุดิน) อาโปธาตุ(ธาตุน้ำ) วาโยธาตุ(ธาตุลม) และเตโชธาตุ (ธาตุไฟ)
ปถวีธาตุคือธาตุดิน มีลักษณะคงที่ประกอบด้วย 20 ประการ ได้แก่ เกศา (ผม) โลมา(ขน) นขา(เล็บ) ทันตา(ฟัน) ตะโจ(ผิวหนัง) มังสัง(กล้ามเนื้อ) นหารู(เส้นเอ็น) อัฎฐิ (กระดูก) อัฎฐิมิณชัง(เยื่อหุ้มกระดูก) วักกัง(ม้าม) หทยัง (หัวใจ) ปิหกัง(ไต) ยกนัง(ตับ) ปับผาสัง(ปอด) กิโลมกัง(พังผืด) อันตัง(ลำไส้ใหญ่) อันตคุนัง(ใส้น้อย) อุทริยัง(อาหารใหม่) กรีสัง (อาหารเก่า) มัตถเก มัตถลุงคัง(เนื้อในสมอง)
พระคัมภีร์ธาตุวิภังค์ ในแพทย์แผนไทย ได้กล่าวไว้ว่า
“ ด้วยมนุษย์ทั้งหลายตายด้วยปีศาจแลไข้เพื่อโอปักกมิกาพาธ ท่านทุบ ถองโบยตี บอบซ้ำ แลต้องอาชาอาญาแห่งพระมหากษัตร ให้พิฆาตฆ่าด้วยหอกดาบปืนไฟนั้นตายโดยเร็วโดยด่วน มิได้ตายเป็นปรกติตายโดยลำดับขันธชวร แลธาตุทั้ง๔ มิได้ล่วงเปนลำดับเลย อันว่าบุคคลตายด้วยกำหนดสิ้นอายุปริโยสาน เปนปรกตินั้นธาตุทั้ง๔ ก็อันตรธานสูญหายเปนลำดับกันไป คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ แต่มิได้ขาดสูญหายพร้อมกันทีเดียว ย่อมจะสูญขาดไปแต่ทีละ ๒ , ๓ , ๔, ๕ สิ่งที่ขาดถ่อยลงไปเปนลำดับจึงให้เปนเพศต่างๆก็ดี คือว่าบุคคลเมื่อจะสิ้นอายุของตนนั้น ปถวีธาตุ ๒๐ ก็ย่อมจะขาดไป ๑๙ ( หทยํ ) หัวใจก็ยังอยู่ อาโปธาตุทั้ง ๑๒ ขาดไป ๑๑ (ปิต์ตํ) ดีก็ยังอยู่ วาโยธาตุ ๖ ขาดไป ๕ (อัส์สาสปัส์สาโส) ลมหายใจเข้าออกก็ยังอยู่ เตโชธาตุ ๔ ขาดไป ๓ ( สัน์ตัปปัค์คี ) ไฟธาตุอบอุ่นร่างกายก็ยังอยู่ ถ้าว่าธาตุทั้งหลายขาดสูญสื้นพร้อมกันดังกล่าวมานี้ ท่านต้องตัดอาการว่า แพทย์ผู้ใดจะเยียวยารักษาสืบไปมิได้เลยถ้าธาตุทั้ง ๔ จะหย่อนขาดไปแต่ ๑ , ๒ , ๓ สิ่งนั้นยังจะพยาบาลได้ให้แพทย์พิจารณาดูดังกล่าวมานั้นเถิด ”
“ ปถวีธาตุ ๒๐ ก็ย่อมจะขาดไป ๑๙ ( หทยํ ) หัวใจก็ยังอยู่
จะเห็นได้ว่าหัวใจนั้นเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดของปถวีธาตุ(ธาตุดิน) เป็นอวัยวะที่มีความสำคัญและแตกดับลำดับสุดท้าย