ในทัศนะของการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนปัจจุบัน หัวใจเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญมาก มีหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย
หัวใจทำให้เลือดไหลเวียน นำออกชิเจนจากอากาศจากปอดไปเลี้ยงเชลล์ทุกชนิดทางหลอดเลือดแดง และนำคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากเชลล์ของร่างกายกลับมาทางหลอดเลือดดำเพื่อปล่อยออกไปกับลมหายใจออก ทั้งนี้หัวใจจะทำงานร่วมกับปอดเสมอ หัวใจทำงานตลอดเวลาไม่ได้หยุดเลย
ลักษณะของหัวใจ
หัวใจเป็นอวัยวะที่มีกล้ามเนื้อกลวง ประกอบด้วยเยื่อบุที่หนาและเหนียว หัวใจมีขนาดใหญ่กว่ากำปั้นของเจ้าของตัวเล็กน้อย มีการเต้นประมาณ 75 ครั้งต่อนาที ตำแหน่งจะอยู่บริเวณทรวงอก ระหว่างอกทั้งสองข้างจะค่อนไปทางซ้าย มีทั้งหมด 4ห้อง เป็นรูปกรวยสั้น แต่มีการสลับที่ของอวัยวะเกิดขึ้นได้คือการที่ค่อนไปทางด้านขวาหรือว่าสลับกับกับอวัยวะอื่น
ภายในหัวใจแบ่งออกเป็น4ห้อง
1.ห้องขวาบน (Right atrium) รับเลือดจากหลอดเลือดดำใหญ่ 2 เส้นคือ Superior vena cava และ Inferior vena cava
2.ห้องขวาล่าง (Right ventricle) รับเลือดดำจากหัวใจห้องบนขวาผ่านลิ้นหัวใจชื่อ Tri cuspid valve แล้วส่งไปยังปอด โดยผ่านลิ้นหัวใจอีกลิ้นซึ่งชื่อ Pulmonary valve เข้าสู่หลอดเลือดใหญ่ที่เข้าสู่ปอดที่ชื่อ Pulmonary artery
3.ห้องซ้ายบน (Left atrium) รับเลือดแดงที่ฟอกแล้วจากปอดซ้ายและขวา
4.ห้องซ้ายบน (Left atrium) รับเลือดแดงที่ฟอกแล้วจากปอดซ้ายและขวา
ลิ้นหัวใจ
ลิ้นหัวใจคือ แผ่นพังผืด ที่ประกอบด้วยเส้นใยคอลลาเจน (Collagen) ลักษณะเป็นแผ่นแบนที่สามารถทนต่อแรงดันสูงเวลาหัวใจบีบตัวโดยไม่ฉีกขาด ซึ่งลิ้นหัวใจมีทั้งหมด 4 ลิ้นได้แก่
Tricuspid valve กั้นระหว่าง หัวใจห้องบนขวา กับ ห้องล่างขวามี 3 แผ่นเรียงเป็นวงทำหน้าที่ป้องกันการย้อนกลับของเลือดดำจาก ห้องล่างขวาขึ้นไปยังห้องบนขวา
การทำงานของหัวใจ
หัวใจทำงานโดยการเต้นและบีบตัว โดยหัวใจเต้นและบีบตัววันละ 100,000 ครั้งโดย ประมาณ ปริมาณของเลือดที่หัวใจบีบออกใน 24 ชั่วโมงเท่ากับประมาณ 2,000 แกลลอนหรือ 7,571 ลิตร การเต้นของหัวใจจะเป็นจังหวะซึ่งเกิดจากการกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้าสร้างภายในหัวใจเองจากตำแหน่งที่เรียกว่า SA node (Sinoatrial node) ในผนังห้องหัวใจด้านบน(Atrium) ซึ่งการสูบฉีดโลหิตเข้าไปในท่อเลือดแดงใหญ่ Aorta จะทำให้เกิดแรงดันเลือด/ความดันโลหิตตัวบน (Systolic blood pressure) ส่วนแรงดันเลือดตัวล่าง (Diastolic blood pressure) จะเกิดขึ้นในขณะที่หัวใจไม่บีบตัวหรือในขณะหยุดพัก
หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ
หัวใจก็ต้องการเลือดไปเลี้ยงเซลล์ของหัวใจเช่นกัน โดยหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจเรียก ว่า Coronary artery ซึ่งเป็นแขนงแยกออกมาจากท่อเลือดแดงใหญ่ Aorta ทั้งนี้ ส่วนต้นของหลอดเลือดหัวใจ จะแยกเป็นสาขา ซ้าย ขวา หน้า หลัง ไปเลี้ยงส่วนต่างๆของหัวใจ ซึ่งถ้าหลอดเลือดเหล่านี้มีการอุดตัน จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด (Myocardial infarction)
เครดิตข้อมูลดีๆ
http://haamor.com/
http://www.krabork.com/